ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ ads 18.227.48.131 : 25-04-24 7:29:15   
สมัครสมาชิกใช้งานติดต่อโฆษณาสินค้าแยกตามหมวดร้านค้าสมาชิกกระดานสนทนากระดานสนทนา
  หมวดสินค้าของเรา            
  
 
Notebook
Piano & Keyboard
กระเป๋า
กล้องถ่ายรูป
กวดวิชา ติวเตอร์ ฝึกอบรม
การเกษตร
การเงิน&บัญชี
กีต้าร์ กลอง เครื่องดนตรี
ก่อสร้าง
ของที่ระลึกจากภาพยนตร์
ความงามและสุขภาพ
คอมพิวเตอร์
งานประดิษฐ์
จักรยาน&จักรยานยนต์
ตกแต่ง ซ่อมแซม
ตั๋ว&บัตร
ตุ๊กตา&ของเล่น
ที่ดิน
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ท่องเที่ยว
ธนบัตร&เหรียญ ของสะสม
นวนิยาย
บริการถ่ายภาพ
บ้าน
บ้านและสวน
ประกันภัย&ประกันชีวิต
พระ
รถยนต์ ประดับยนต์
วัตถุมงคล
สัตว์เลี้ยง
สำนักงาน
สินค้า หรือ บริการทั่วไป
หนังสือ
หนังสือการ์ตูน
หนังสือคอมฯ
หนังสือออกใหม่
ห้องซ้อมดนตรี
ห้องพัก หอพัก
อาคารชุด
อาคารพานิชย์
อินเตอร์เนต
อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน
อุปกรณ์กีฬา
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และของใช้ในบ้าน
เกมส์
เครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องประดับ
เครื่องเสียงรถยนต์
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
เสื้อผ้าแฟชั่น และอื่นๆ
โชว์ การแสดง
โทรศัพท์&อุปกรณ์เสริม
โทรสาร
โน๊ตเพลง

ปวดร้าวที่กระดูก แบบไหนต้องพบแพทย์  

ปวดร้าวที่กระดูก แบบไหนต้องพบแพทย์
 

ปวดร้าวที่กระดูก แบบไหนต้องพบแพทย์

ที่มา: รามาแชนแนล Rama Channel
ปวดร้าวที่กระดูก แบบไหนต้องพบแพทย์
ปวดร้าวที่กระดูก แบบไหนต้องพบแพทย์
ในบรรดาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัว อาการปวดร้าวที่กระดูกถือเป็นอีกหนึ่งอาการที่หลายคนพบเจอ เนื่องจากการใช้ร่างกายที่ไม่เหมาะสม หรือการเคลื่อนไหวที่ผิดพลาด บ้างเกิดจากอายุที่มากขึ้น บ้างก็อาจเกิดจากการออกกำลังกาย และอื่นๆ ทั้งยังคงเป็นปัญหาให้หลายคนที่เป็น ใช้ชีวิตผิดปกติไปจากเดิม
โดยระดับอาการยังมีตั้งแต่น้อยไปถึงมาก อาจต้องพบแพทย์หรือไม่ก็ได้ เพราะบางระดับอาการก็สามารถบำบัดได้ด้วยตนเอง วันนี้เราก็มีข้อมูลมาฝากว่าอาการปวดร้าวที่กระดูกแบบไหน ที่ควรพบแพทย์บ้าง

อาการปวดร้าวที่กระดูกมีหลายแบบตั้งแต่ตำแหน่งที่ปวด รวมไปถึงระดับอาการที่ปวด หากเป็นไม่มากก็สามารถกายภาพหรือบำบัดด้วยตนเองที่บ้านได้ อาการเหล่านั้นก็จะหายไป แต่บางอาการก็ต้องพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที
โดยทั่วไปหากเกิดอาการปวดร้าวที่กระดูก ให้ทำการบำบัดด้วยตนเองก่อน โดยการนั่งพักสักครู่หนึ่ง แล้วดูว่าอาการนั้นดีขึ้นหรือไม่ หากนั่งพักแล้วอาการค่อยๆ ดีขึ้นจนกระทั่งหายไป อาจไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ แต่ถ้าหากอาการยิ่งทรุดหนัก มีอาการปวดมากขึ้น อาจต้องพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับระยะทางในการเคลื่อนไหวด้วย รวมถึงอายุก็มีส่วนเช่นกัน อย่างในบางรายที่มีอายุมากการเดินในระยะทาง 1 กิโลเมตรแล้วรู้สึกปวดร้าว นั่งพักแล้วหาย อันนั้นอาจเป็นเรื่องปกติในคนอายุเยอะ ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ แต่ถ้าหากอายุยังน้อยแล้ววิ่งไปได้เพียงระยะทาง 1 กิโลเมตรก็รู้สึกปวดมากจนไม่สามารถเคลื่อนไหวต่อไปได้อีก อันนี้อาจไม่ปกติและควรพบแพทย์โดยด่วน เพื่อประเมินอาการต่อไป
ปวดร้าวที่กระดูก แบบไหนต้องพบแพทย์ thaihealth
ยกตัวอย่าง กรณีหญิงสูงอายุที่รู้สึกปวดข้างหลังแล้วร้าวลงมาที่ขา เมื่อเดินไปได้สักระยะ 1- 2 กิโลเมตร ให้ลองนั่งพักสักครู่ ถ้าหากนั่งพักแล้วหาย แปลว่ายังไม่ถึงขั้นที่ต้องพบแพทย์ ให้บำบัดด้วยตนเองโดยการนั่งพักทุกครั้งที่เกิดอาการปวดร้าวที่กระดูกขึ้น และยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่มีอะไรต้องกังวล โดยอาการดังกล่าวคืออาการของหลังกระดูกทับเส้น ซึ่งจะร้าวลงมาที่ขา รู้สึกชาที่ขา อาการดีขึ้นได้เมื่อนั่งพักสักครู่หนึ่ง แต่ถ้าหากวันใดที่พบว่าระยะทางในการเดินนั้นสามารถทำได้น้อยลง และรู้สึกปวดร้าวมากขึ้น ทานยาแก้ปวดหรือพาราเซตามอลแล้วไม่หาย นั่งพักแล้วไม่หาย อาการแบบนี้ควรพบแพทย์
อย่างในกรณีต่อมาหญิงสาวอายุไม่ถึง 30 ปี มีอาการเจ็บที่หน้าแข้งขณะวิ่งออกกำลังกาย โดยมีอาการตั้งแต่วิ่งไปได้เพียงระยะสั้นๆ ประมาณ 0.5 กิโลเมตร กระทั่งถึง 1 กิโลเมตรก็รู้สึกเจ็บมากจนไม่สามารถวิ่งต่อไปได้ ตำแหน่งที่เจ็บอยู่บริเวณหน้าแข้ง อาการเหมือนกระดูกจะแตก แบบนี้ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อทำการเอ็กซเรย์ดูว่ากระดูกมีปัญหาหรือไม่อย่างไร โดยอาการนี้สามารถเป็นไปได้ทั้ง 2 อย่าง อาจมีปัญหาที่กระดูกหรือไม่ก็มีปัญหาที่กล้ามเนื้อ เพราะโรคกระดูกบางโรคที่ในเนื้อกระดูกมีปัญหา จะทำให้เจ็บหน้าแข้งได้ แต่อีกประการหนึ่งคือกลุ่มของโรคกล้ามเนื้อที่ทำให้เวลาออกกำลังกายสามารถเจ็บหน้าแข้งได้เช่นกัน เนื่องจากว่ากล้ามเนื้อจะเกาะที่กระดูก จึงควรเอ็กซเรย์ดูจะดีที่สุด ซึ่งถ้าหากไม่เจอความผิดปกติใดๆ ก็อาจต้องไปดูในเรื่องของพฤติกรรมการออกกำลังกายว่าก่อนออกกำลังกายมีการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสมหรือไม่ หรืออาจเป็นที่ท่าวิ่งไม่เหมาะสม ซึ่งมีส่วนทำให้เจ็บหน้าแข้งได้เช่นกัน
ยังมีอีกหนึ่งอาการปวดที่ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ แต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตไม่น้อย นั่นก็คืออาการของโรคไหล่ติด จะมีลักษณะปวดบริเวณไหล่ตรงจุดที่แขนต่อจากไหล่ เวลายกแขนจะมีปัญหายกไม่ค่อยขึ้น ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น หวีผมยาก ใส่เสื้อชั้นในยาก เป็นต้น โดยจะปวดทั้งสองข้าง ซึ่งจะปวดทีละข้างเมื่อข้างหนึ่งหาย อีกข้างจะปวดต่อกัน พบมากในผู้หญิงอายุ 40- 50 ปี ใช้เวลา 1-2 ปีโรคไหล่ติดจะหายไปเองโดยธรรมชาติ สามารถบำบัดได้ด้วยตัวเองด้วยการประคบน้ำอุ่นบริเวณรอบๆ หัวไหล่ แต่ถ้าทนไม่ไหวให้ทานยาแก้ปวด อย่างยาพาราเซตามอล  หรือยาคลายกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังสามารถบำบัดได้ด้วยท่าบริหารต่างๆ 6-7 ท่า สำหรับการแก้ปัญหาไหล่ติดโดยเฉพาะ โดยธรรมชาติของโรคนี้จะมีอายุประมาณ 3 เดือนถึง 2 ปี ก็จะหายไปเอง ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา

   
   
 


Article write by : teerawatcare Visit website
Visit website
จำหน่ายอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วย : วิธีการเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย, วิธีการเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจน, เตียงผู้ป่วย, ออกซิเจน สำหรับผู้ป่วย, เครื่องปั่นเลือด, เครื่องดูดเสมหะ



อุปกรณ์การแพทย์ สำหรับโรงพยาบาล คลีนิค : เครื่องปั่นฮีมาโตคริต, เครื่องวัดสัญญาณชีพ, เครื่องดูดของเหลว, เตียงโรงพยาบาล, เตียงผ่าตัด เตียงทำคลอด, โคมไฟผ่าตัด, เครื่องช่วยหายใจ, เครื่องชั่งน้ำหนัก, หัวเกจ์ออกซิเจน

=



พอลลี่เฮลท์แคร์ : เตียงไฟฟ้า เตียงปรับมือ เครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ ที่นอนลม รถเข็นนั่ง



อโรคาพลัส | เตียงผู้ป่วย เครื่องผลิตออกซิเจนบ เช่าเตียงไฟฟ้า เช่าเครื่องผลิตออกซิเจน เตียงผู้ป่วยมือสอง เครื่องผลิตออกซิเจนมือสอง ออกซิเจน บริการเครื่องปั่นฮีมาโตคริตเครื่องรักษาอาการนอนกรน รับซ่อมเครื่องผลิตออกซิเจน



ให้คำปรึกษาปัญหานอนกรน : อาการนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ, เครื่องช่วยหายใจแรงดัน 2 ระดับ, หน้ากากแบบครอบจมูก, หน้ากากแบบเต็มหน้า, เครื่อง CPAP ยี่ห้อไหนดี, ราคาเครื่องช่วยหายใจ, เช่าเครื่อง CPAP, อุปกรณ์เสริมเครื่องนอนกรน


 
แสดงความเห็นต่อบทความนี้
User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
 
© Copyright 2010 WWW.MEEMARKET.COM All Rights Reserved.