ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ ads 44.201.94.1 : 29-03-24 11:55:18   
สมัครสมาชิกใช้งานติดต่อโฆษณาสินค้าแยกตามหมวดร้านค้าสมาชิกกระดานสนทนากระดานสนทนา
MeeMarket

  หมวดสินค้าของเรา            
  
 

Tag / คำค้น

  แสดงสินค้าทั้งหมด
มีอะไรอยู่ในตะกร้าบ้างแล้ว คลิ๊กเลย!!!
หน้าแรกของร้าน
ร้าน MeeMarket
กระดานถามตอบของร้าน
>> webboard ของร้าน >> รับผิดชอบสังคมแบบเศรษฐกิจพอเพียง - ทิศทางเกษตร

หัวข้อ : รับผิดชอบสังคมแบบเศรษฐกิจพอเพียง - ทิศทางเกษตร  
 
ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจนั้น หมายถึง การดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและการกำกับดูแลกิจการที่ดีควบคู่ไปกับการใส่ใจรักษาสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

ทองทิพพา วิริยะพันธุ์ อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เข้ามาทำหน้าที่ในการศึกษาแนวทางการจัดทำโครงการรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียงเปิดเผยว่า การจัดทำโครงการดังกล่าวปัจจุบันมีมากขึ้นแต่ส่วนใหญ่จะเน้นไปในด้านเพื่อการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ขององค์กร ฉะนั้นเพื่อให้โครงการเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืนจึงได้เสนอแนวคิดการดำเนินโครงการแบบบูรณาการด้วยการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในโครงการ แก่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เพื่อร่วมหาแนวทางการดำเนินโครงการที่มีความเป็นไปได้ ก็พบว่าสามารถดำเนินการโดยใช้หมู่บ้านซับผุด อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ ดำเนินโครงการเป็นการนำร่องได้

ขั้นต้นเข้าไปสอบถามความต้องการของชุมชนว่าต้องการอะไรบ้างหากจะมีการพัฒนาซึ่งเป็นการดำเนินงานตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะที่ว่า ถ้าจะพัฒนาชุมชนจะต้องศึกษาพื้นที่เดิมของชุมชน แล้วพัฒนาตามความต้องการของคนในชุมชน ได้ข้อสรุปว่าชาวชุมชนมีความต้องการน้ำ เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอุปโภค บริโภค และทำการเกษตรโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง

จากนั้นสำรวจพื้นที่เพื่อหาแหล่งน้ำต้นทุนก็พบว่า มีน้ำตกที่ห่างจากชุมชนประมาณ 1 กิโลเมตร มีการศึกษาแนวระบบส่งน้ำซึ่งมีระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตรแล้วนำข้อมูลทั้งหมดปรึกษากับบริษัทเอกชนที่สนใจจะทำโครงการ เพื่อชุมชนตามรูปแบบดังกล่าวก็ได้รับการสนองตอบทุกประการโดยทางบริษัทเอกชนได้สนับสนุนอุปกรณ์พร้อมบุคลากรด้านวิศวกรรมลงพื้นที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำแก่ชาวชุมชนในการจัดการด้านกายภาพเรื่องการวางระบบท่อส่งน้ำจากน้ำตกสู่ชุมชนและแปลงเพาะปลูกของเกษตรกร โดยใช้แรงงานของชาวชุมชนทั้งหมด และประสบความสำเร็จด้วยดี น้ำไหลแรงและมีต่อเนื่องทุกฤดูกาลทำให้สามารถเพาะปลูกได้เพิ่มมากขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาขบวนการผลิตและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าในผลผลิต ยังมาซึ่งรายได้ของชาวชุมชนมากขึ้นกว่าเดิมเป็นทับทวี

“เมื่อโครงการแรกผ่านไป ชุมชนยังต้องการการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ด้าน ต่อจากนี้จะเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ การพัฒนาบุคคลตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีการพัฒนาการเพาะปลูกอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและตรงตามความต้องการของตลาด ขณะเดียวกันทางมูลนิธิชัยพัฒนาร่วมกับภาคเอกชน สนับสนุนถังน้ำขนาดใหญ่เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในช่วงหน้าแล้ง” อาจารย์ทองทิพพา กล่าว

กิจกรรมตอบแทนสังคมในรูปแบบนี้จะไม่ใช่ของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่เป็นการบูรณาการความร่วมมือ ที่น้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า ให้จัดการความร่วมมือในเชิงบูรณาการ ไม่ช่วยเหลือด้วยการสนับสนุนงบประมาณแต่จะให้เป็นของเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่ชุมชนต้องการ การดำเนินการและบริหารจัดการทำโดยชุมชนเอง เป็นการให้ที่ยั่งยืน เหมือนกับสอนให้หาปลา ไม่ใช่เอาปลาไปให้ประชาชนก็จะมีปลาบริโภคตลอดไปเพราะมีความรู้ความสามารถในการหา

“ขณะนี้ได้มีการขยายองค์ความรู้และความร่วมมือไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ รอบ ๆ ชุมชนซับผุด โดยมีหมู่บ้านใกล้เคียง ประกอบด้วยหมู่บ้านโคกพรม ซับตะแบก โดยหมู่บ้านซับผุดเป็นแกนกลาง ซึ่งจะทำให้ความแข็งแรงของชุมชนแบบพึ่งพาตนเองได้ขยายออกไปในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เมื่อระบบนี้มีมากสังคมไทยก็จะมีความเข้มแข็งด้วยชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ด้วยตัวของตนเอง” อาจารย์ทองทิพพากล่าว.


ที่มา : ขอขอบคุณ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  

http://www.adisorn.biz


2012-04-02 21:45:38 115.67.32.**
stat : 287 posts , 2 replys
 

คำตอบ
 
ข้อความ
รูปแบบพิเศษ ย่อหน้า ตัวหนา ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา แทรกรูปจาก internet แทรกไฟล์ youtub vdo
Emotions
ชื่อ
email
ซ่อน E-Mail
.
สมัครสมาชิก Click ที่นี่ | เข้าสู่ระบบ Click ที่นี่




User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
 
© Copyright 2010 WWW.MEEMARKET.COM All Rights Reserved.