ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ ads 3.134.104.173 : 16-04-24 19:46:34   
สมัครสมาชิกใช้งานติดต่อโฆษณาสินค้าแยกตามหมวดร้านค้าสมาชิกกระดานสนทนากระดานสนทนา
MeeMarket

  หมวดสินค้าของเรา            
  
 

Tag / คำค้น

  แสดงสินค้าทั้งหมด
มีอะไรอยู่ในตะกร้าบ้างแล้ว คลิ๊กเลย!!!
หน้าแรกของร้าน
ร้าน MeeMarket
กระดานถามตอบของร้าน
>> webboard ของร้าน >> เกาะสุกร เกาะแห่งการเรียนรู้ตลอดปี

หัวข้อ : เกาะสุกร เกาะแห่งการเรียนรู้ตลอดปี  
 
แปลกแต่จริง! ชื่อ เกาะสุกร หรือ เกาะหมู แต่ประชากรบนเกาะส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้น จึงไม่มีการเลี้ยงหมู และไม่มีสุนัข เอ้า...แล้วทำไมถึงชื่อ เกาะสุกร ถ้าอยากรู้คำตอบ พร้อม ๆ กับอยากสัมผัสบรรยากาศท้องทะเลสวย ๆ ความงดงามของภูเขา ทุ่งนา และวิถีชีวิตเรียบง่ายของชาวบ้าน ตามเราไปท่องเที่ยว เกาะสุกร จังหวัดตรัง กันดีกว่า...

เกาะสุกร หรือที่เรียกกันว่า เกาะหมู เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ตัวเกาะขนานกับแนวชายฝั่ง และห่างจากฝั่งเพียง 3 กิโลเมตร สภาพตัวเกาะประกอบด้วยภูเขา สวนยางพารา ป่าโกงกาง นาข้าว และทะเล ทำให้ชาวบ้านบน เกาะสุกร มีอาชีพประมง ทำสวนยาง และเกษตรกรรม นอกจากนี้ เมื่อหมดฤดูนาข้าวในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ก็จะเห็นไร่แตงโมพันธุ์หวานแดงอร่อย ออกผลเต็มทั่วท้องทุ่ง เพราะเป็นสินค้าขึ้นชื่อของ เกาะสุกร

ชาวบ้านบน เกาะสุกร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ทำให้บนเกาะไม่มีการเลี้ยงหมู เลี้ยงสุนัข ที่สำคัญไม่มีการจำหน่ายสุราบนเกาะเด็ดขาด! สำหรับที่มาของชื่อ เกาะสุกร นั่นมีเรื่องเล่าหลากหลาย เช่น ในอดีตบนเกาะมีหมูป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งมีชาวประมงกลุ่มหนึ่งซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บนเกาะ จึงขับไล่หมูป่าออกไปจากเกาะ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนชายฝั่งมองไปเห็นฝูงหมูป่ากำลังว่ายน้ำอยู่ จึงเรียกเกาะนี้ว่า ก่อนจะเปลี่ยนเป็น เกาะหมูเกาะสุกร

และอีกตำนานหนึ่งเล่าว่า มีเรือสำเภาของเศรษฐีมาจอดที่ปากน้ำ ซึ่งลูกชายของเศรษฐีนับถือศาสนาอิสลาม มาชอบลูกสาวของตายายที่นับถือศาสนาพุทธ และได้อยู่กินกันเป็นเวลานาน ต่อมาเรือสำเภากลับมาที่ปากน้ำ ตายายจึงมาเยี่ยมลูกสาว โดยเตรียมหมูปิ้งไม้เสียบมาให้ลูก แต่ลูกสาวแกล้งจำพ่อแม่ไม่ได้ ตายายโกรธขว้างของทิ้งหมด ทำให้ไม้เสียบหมูปิ้งลอยไปติดเป็นเกาะใหญ่ จึงเรียกชื่อเกาะนี้ว่า เกาะสุกร

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า เกาะสุกร จะมีชายหาดที่ไม่สวยงามเหมือนกับเกาะอื่น ๆ ในจังหวัดตรัง แต่ก็มีกิจกรรมดี ๆ มากมาย ให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเที่ยว เกาะสุกร ได้สนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็น การพักผ่อนชายหาด การเช่าเรือไปดำน้ำที่ เกาะเหลาเหลียง และ เกาะตะเกียง เพื่อชมปะการังเจ็ดสี ปะการังนานาชนิด และปลานีโม่ ซึ่งเหมาะสำหรับการศึกษาเรียนรู้เชิงนิเวศน์ทางทะเล

การปั่นจักรยานชมวิวทิวทัศน์และการดำรงชีวิตของชาวบ้าน โดยเส้นทางจะผ่านภูเขา สวนยางพารา สวนมะม่วงหิมพานต์ ป่าโกงกาง ป่าโปร่ง ไร่แตงโม ทุ่งนา ซึ่งเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ควรไปสัมผัส เพราะจะได้ชื่นชมกับบรรยากาศท้องทุ่งนาข้าวเขียวขจี พร้อม ๆ กับสูดความหอมของกลิ่นขวัญข้าวช่วงตั้งท้อง หรือจะแวะเพลิดเพลินกับฝูงวัวควาย ฝูงนกเป็ดน้ำ นกกระยาง นกกวัก ปิดท้ายด้วยไปชมฝูงปูก้ามดาบ ปูหลากสี ฝูงนาก สัตว์ป่าชายเลนก็สามารถทำได้

ทั้งนี้ หากใครสัมผัสชีวิตของชาวสวนยางพารา ก็ไม่ควรพลาดไปชมการกรีดยางในช่วงเช้ามืด และชมกรรมวิธีให้ได้ซึ่งแผ่นยางที่สวยงาม รวมถึงไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่น ร้านจำหน่ายผาบาติก เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเรียนรู้ และหัดวาดลายผ้าบาติก รวมทั้งกรรมวิธีการย้อมผ้า

บน เกาะสุกร มีที่พักทั้งสิ้น 5 แห่ง ส่วนใหญ่เปิดให้บริการช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวและที่พักแบบโฮมสเตย์ ที่ให้บริการโดยชุมชนในราคาที่ไม่แพง และหากต้องการนั่งเรือท่องเที่ยวไปตามเกาะในจังหวัดตรัง ก็สามารถจะเช่าเรือจากท่าเรือบนเกาะได้อีกด้วย

และนี่คือ เกาะสุกร จังหวัดตรัง อีกหนึ่ง สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่ไม่ควรพลาดไปเยือน

การเดินทาง

สามารถนั่งรถตู้สายตรัง-ย่านตาขาว ลงที่ตลาดย่านตาขาว แล้วต่อรถสองแถวสายย่านตาขาว-ปากปรน-แหลมตะเสะ ระยะทาง 47 กิโลเมตร ถึงท่าเรือแหลมตะเสะ หรือใช้เส้นทางตรัง-ปะเหลียน(หลวงหมายเลข 404) เลี้ยวขวาสี่แยกบ้านนาประมาณ 18 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายประมาณ 7 กิโลเมตร ถึงท่าเรือ ใช้เวลาเดินทางด้วยเรือหางยาวประมาณ 30 นาที ค่าเช่าเหมาเรือราคา 700 บาท นั่งได้ 10 คน และบนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว

ที่มา กระปุก.คอม  

แสนดีเจริญรุ่งเรือง


2011-05-10 11:52:37 14.207.244.**
stat : 690 posts , 0 replys
 

คำตอบ
 
ข้อความ
รูปแบบพิเศษ ย่อหน้า ตัวหนา ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา แทรกรูปจาก internet แทรกไฟล์ youtub vdo
Emotions
ชื่อ
email
ซ่อน E-Mail
.
สมัครสมาชิก Click ที่นี่ | เข้าสู่ระบบ Click ที่นี่




User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
 
© Copyright 2010 WWW.MEEMARKET.COM All Rights Reserved.