ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ ads 3.145.94.251 : 26-04-24 10:39:45   
สมัครสมาชิกใช้งานติดต่อโฆษณาสินค้าแยกตามหมวดร้านค้าสมาชิกกระดานสนทนากระดานสนทนา
  หมวดสินค้าของเรา            
  
 
Notebook
Piano & Keyboard
กระเป๋า
กล้องถ่ายรูป
กวดวิชา ติวเตอร์ ฝึกอบรม
การเกษตร
การเงิน&บัญชี
กีต้าร์ กลอง เครื่องดนตรี
ก่อสร้าง
ของที่ระลึกจากภาพยนตร์
ความงามและสุขภาพ
คอมพิวเตอร์
งานประดิษฐ์
จักรยาน&จักรยานยนต์
ตกแต่ง ซ่อมแซม
ตั๋ว&บัตร
ตุ๊กตา&ของเล่น
ที่ดิน
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ท่องเที่ยว
ธนบัตร&เหรียญ ของสะสม
นวนิยาย
บริการถ่ายภาพ
บ้าน
บ้านและสวน
ประกันภัย&ประกันชีวิต
พระ
รถยนต์ ประดับยนต์
วัตถุมงคล
สัตว์เลี้ยง
สำนักงาน
สินค้า หรือ บริการทั่วไป
หนังสือ
หนังสือการ์ตูน
หนังสือคอมฯ
หนังสือออกใหม่
ห้องซ้อมดนตรี
ห้องพัก หอพัก
อาคารชุด
อาคารพานิชย์
อินเตอร์เนต
อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน
อุปกรณ์กีฬา
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และของใช้ในบ้าน
เกมส์
เครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องประดับ
เครื่องเสียงรถยนต์
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
เสื้อผ้าแฟชั่น และอื่นๆ
โชว์ การแสดง
โทรศัพท์&อุปกรณ์เสริม
โทรสาร
โน๊ตเพลง

\'ขยะเพิ่ม\' ชุมชนเสี่ยงโรคผิวหนัง-ทางเดินหายใจ  

\'ขยะเพิ่ม\' ชุมชนเสี่ยงโรคผิวหนัง-ทางเดินหายใจ
 


สธ.เผยขยะในประเทศไทยมีมากกว่า 14 ตันต่อปีมากจากการขยายตัวของชุมชนชี้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคโดยเฉพาะในเด็ก-ผู้สูงอายุ

นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานแถลงข่าว “สัปดาห์ความสะอาดแห่งชาติ บ้าน ชุมชน ตลาด สะอาด ปลอดโรค ปลอดภัย”ว่า ปัจจุบันคนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่การจัดการขยะมีไม่ถึง 70 % ขยะเหล่านี้จะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงและสัตว์พาหะนำโรค เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาบ ซึ่งก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคบิด ไข้ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค กาฬโรค ฯลฯ การสูดดมขยะ ฝุ่นละออง ก๊าซหรือไอสารพิษจากขยะอันตรายยังส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ หรือการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังเมื่อสัมผัสขยะ อาจก่อให้เกิดโรคผิวหนัง และโรคมะเร็งได้ และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการเติบโตของเมืองมากขึ้น ประชากรเพิ่มขึ้น และกระแสบริโภคนิยมส่งผลกระทบต่ออนามัยสิ่งแวดล้อมของประเทศ เช่น ปัญหามลพิษอากาศ ปัญหาการเพิ่มขึ้นของชุมชนแออัดในเขตเมือง ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลอาหาร

ซึ่งปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารและโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ และประชาชนในพื้นที่ห่างไกลที่เป็นกลุ่มเสี่ยง นอกจากนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น เช่น โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ รวมถึงการป่วยจากเหตุอาคาร (Sick building syndrome) ที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง จากสถานการณ์ดังกล่าวกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยจึงเร่งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555 - 2559 ในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม ของประเทศ ด้วยการพัฒนาสภาพแวดล้อมและบ้านเรือนให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ พร้อมทั้งกระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวในกิจกรรมรณรงค์ขึ้นมา

ด้าน นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ประชาชนที่อยู่ในบ้านและชุมชนต้องมีการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้ถูกสุขลักษณะเพื่อลดโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็ก เนื่องจากโรคภูมิแพ้จัดเป็นโรคที่พบบ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อับทึบ ชื้น มีเชื้อรา หรือฝุ่นละออง จึงควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้สะอาด เป็นระเบียบ โดยเฉพาะห้องนอน ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและรับแสงสว่างจากธรรมชาติ เพื่อลดจำนวนเชื้อรา หมั่นทำความสะอาดอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง

เพื่อลดการสะสมของเศษผิวหนังตกค้าง ซึ่งจะเป็นอาหารของไรฝุ่น หากพบว่าบริเวณใดของบ้านมีเชื้อรา เช่น ห้องน้ำ ฝาผนังที่ชื้น ให้ทำความสะอาดด้วยน้ำผสมคลอรีน ซึ่งหากทำความสะอาดทั่วไปให้ใช้คลอรีน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 แกลลอน ส่วนการฆ่าเชื้อโรคให้ใช้คลอรีน ¾ ถ้วย ต่อน้ำ 1 แกลลอน การเก็บรวบรวมเศษขยะ สิ่งปฏิกูล ให้ใส่ถุงมัดปากถุงให้แน่น เพื่อรอหน่วยงานนำไปกำจัด ส่วนส้วมที่ชำรุดเสียหาย ควรเร่งซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดี ไม่มีสิ่งปฏิกูลรั่วไหลออกมาภายนอก และดูแลรักษาความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคยุงลาย หนู แมลงสาบ ที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อต่าง ๆ

“สำหรับตลาดสด ผู้ประกอบการควรล้างตลาดเดือนละ 1 ครั้ง ในช่วงภาวะปกติ แต่หากเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรค เช่น ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ ควรล้างสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยการล้างตลาดควรคำนึงถึง 3 จุดสำคัญ ได้แก่ พื้น เขียง แผง การล้างตลาดที่ถูกหลักสุขาภิบาลมี 2 ขั้นตอนสำคัญคือ ขั้นตอนที่ 1 การล้างด้วยน้ำและผงซักฟอกเพื่อกำจัดคราบสกปรก แต่หากมีคราบไขมันจับให้ใช้น้ำผสมโซดาไฟราดลงบนพื้นหรือแผงทิ้งไว้นาน 15-30 นาที และใช้แปรงลวดถู เพื่อขจัดคราบน้ำมัน ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนการฆ่าเชื้อโรค ใช้น้ำผสมผงปูนคลอรีนใส่ลงในฝักบัวรดน้ำและรดบริเวณแผง เขียง ทางเดิน ทางระบายน้ำเสียให้ทั่ว จากนั้นทิ้งไว้เพื่อให้คลอรีน ฆ่าเชื้อโรคและกำจัดกลิ่น ส่วนบริเวณที่มีกลิ่นคาวให้ใช้หัวน้ำส้มสายชูผสมน้ำให้เจือจางราดบริเวณที่มีกลิ่นคาว ห้องน้ำ ห้องส้วม อ่างล้างมือ ที่ปัสสาวะและก๊อกน้ำสาธารณะที่ใช้ในตลาดต้องทำความสะอาดโดยใช้น้ำยา ทำความสะอาดหรือผงซักฟอกช่วยและล้างด้วยน้ำสะอาด” รองอธิบดีกรมอนามัยกล่าว

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการ


 


 ธีรวัฒน์แคร์ ตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือ และอุปกรณ์การแพทย์

 

   
   
 


Article write by : ธีรวัฒน์แคร์ Visit website
Visit website
จำหน่ายอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วย : วิธีการเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย, วิธีการเลือกซื้อเครื่องผลิตออกซิเจน, เตียงผู้ป่วย, ออกซิเจน สำหรับผู้ป่วย, เครื่องปั่นเลือด, เครื่องดูดเสมหะ



อุปกรณ์การแพทย์ สำหรับโรงพยาบาล คลีนิค : เครื่องปั่นฮีมาโตคริต, เครื่องวัดสัญญาณชีพ, เครื่องดูดของเหลว, เตียงโรงพยาบาล, เตียงผ่าตัด เตียงทำคลอด, โคมไฟผ่าตัด, เครื่องช่วยหายใจ, เครื่องชั่งน้ำหนัก, หัวเกจ์ออกซิเจน

=



พอลลี่เฮลท์แคร์ : เตียงไฟฟ้า เตียงปรับมือ เครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ ที่นอนลม รถเข็นนั่ง



อโรคาพลัส | เตียงผู้ป่วย เครื่องผลิตออกซิเจนบ เช่าเตียงไฟฟ้า เช่าเครื่องผลิตออกซิเจน เตียงผู้ป่วยมือสอง เครื่องผลิตออกซิเจนมือสอง ออกซิเจน บริการเครื่องปั่นฮีมาโตคริตเครื่องรักษาอาการนอนกรน รับซ่อมเครื่องผลิตออกซิเจน



ให้คำปรึกษาปัญหานอนกรน : อาการนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ, เครื่องช่วยหายใจแรงดัน 2 ระดับ, หน้ากากแบบครอบจมูก, หน้ากากแบบเต็มหน้า, เครื่อง CPAP ยี่ห้อไหนดี, ราคาเครื่องช่วยหายใจ, เช่าเครื่อง CPAP, อุปกรณ์เสริมเครื่องนอนกรน


 
แสดงความเห็นต่อบทความนี้
User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
 
© Copyright 2010 WWW.MEEMARKET.COM All Rights Reserved.