ฟรี ร้านค้า ออนไลน์ ads 18.223.205.61 : 18-04-24 23:57:28   
สมัครสมาชิกใช้งานติดต่อโฆษณาสินค้าแยกตามหมวดร้านค้าสมาชิกกระดานสนทนากระดานสนทนา
  หมวดสินค้าของเรา            
  
 
Notebook
Piano & Keyboard
กระเป๋า
กล้องถ่ายรูป
กวดวิชา ติวเตอร์ ฝึกอบรม
การเกษตร
การเงิน&บัญชี
กีต้าร์ กลอง เครื่องดนตรี
ก่อสร้าง
ของที่ระลึกจากภาพยนตร์
ความงามและสุขภาพ
คอมพิวเตอร์
งานประดิษฐ์
จักรยาน&จักรยานยนต์
ตกแต่ง ซ่อมแซม
ตั๋ว&บัตร
ตุ๊กตา&ของเล่น
ที่ดิน
ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ท่องเที่ยว
ธนบัตร&เหรียญ ของสะสม
นวนิยาย
บริการถ่ายภาพ
บ้าน
บ้านและสวน
ประกันภัย&ประกันชีวิต
พระ
รถยนต์ ประดับยนต์
วัตถุมงคล
สัตว์เลี้ยง
สำนักงาน
สินค้า หรือ บริการทั่วไป
หนังสือ
หนังสือการ์ตูน
หนังสือคอมฯ
หนังสือออกใหม่
ห้องซ้อมดนตรี
ห้องพัก หอพัก
อาคารชุด
อาคารพานิชย์
อินเตอร์เนต
อุปกรณ์ เครื่องเขียน แบบเรียน
อุปกรณ์กีฬา
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และของใช้ในบ้าน
เกมส์
เครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องประดับ
เครื่องเสียงรถยนต์
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
เสื้อผ้าแฟชั่น และอื่นๆ
โชว์ การแสดง
โทรศัพท์&อุปกรณ์เสริม
โทรสาร
โน๊ตเพลง

การดูดเสมหะด้วยสายดูดเสมหะ  

การดูดเสมหะด้วยสายดูดเสมหะ
 

การดูดเสมหะด้วยสายดูดเสมหะ

เครื่องดูดเสมหะ

SUCTION Wall Suction
รุ่น 9E-A     รุ่น 9E-B   รุ่น 9A-2B6  Wall Suction
เครื่องดูดเสมหะ

การดูดเสมหะ จะทำในผู้ป่วยที่มีเสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถไอขับเสมหะออกมาได้ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อขับเสมหะออกจากทางเดินหายใจส่วนบน 
2. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการไอขับเสมหะ 
3. ป้องกันการสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าปอด เช่น น้ำ เลือด อาเจียน


การประเมินสภาพผู้ป่วย ก่อนการดูดเสมหะ

1. สังเกตลักษณะการหายใจค่อนข้างแรงมาก อัตราการหายใจเร็ว 
2. ฟังเสียงปอดได้ยินเสียงเสมหะ (Adventitions sound) 
3. ผู้ป่วยมีอาการรู้สึกเหนื่อย หายใจลำบาก ได้ยินเสียงดังขณะหายใจเข้าและหายใจออก 
4. ลักษณะสีผิว เล็บ และริมฝีปาก มีอาการ Cyanosis 
5. ผู้ป่วยมีอาการซึมลง 
6. การไอไม่มีประสิทธิภาพที่จะขับเสมหะออกได้ 
7. ลักษณะเสมหะ เหนียว และมีจำนวนมาก 
8. ผู้ป่วยอาเจียนหรือขย้อนอาหารอยู่ในปาก

ช่องทางของการดูดเสมหะ มี 2 ช่องทาง ดังนี้

1. การดูดเสมหะทางจมูกและทางปาก (Nasopharygeal and Oropharyngeal Suctioning)

  • การดูดเสมหะผ่านทางท่อหายใจทางจมูก Nasopharyngeal tube หรือ nasal airway ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาวภายในกลวง ลักษณะของท่อโค้ง และมีความยืดหยุ่นให้สามารถสอดใส่เข้าทางรูจมูกผ่านไปถึงโพรงจมูกด้านหลัง (nasophgryngeal) ได้สะดวก
  • การดูดเสมหะผ่านทางท่อหายใจทางจมูก Nasopharyngeal tube มักใช้ในกรณีผู้ป่วยขบกัด Oral airway บ่อย ๆ
  • การดูดเสมหะผ่านทางท่อหายใจทางปาก (Oropharyngeal tube หรือ oral airway) ซึ่งเป็นท่อขนาดใหญ่กว่าสอดใส่เข้าทางปากผ่านช่องปาก (Oropharyngeal) ไปถึงโคนลิ้น

วิธีการใส่ Oral airway

  1. ให้ผู้ป่วยอ้าปาก แล้วใช้ไม้กดลิ้น - เพื่อให้ใส่ oral airway ได้ง่ายกดบริเวณกึ่งกลางลิ้น ไม่เกิดการบาดเจ็บในช่องปาก
  2. จับ Oral airway ในลักษณะหงายแล้วค่อย ๆ สอด Airway เข้าช่องปากทางด้านข้าง - เพื่อไม่ให้กระตุ้น gag reflex
  3. เมื่อส่วนปลายของ oral airway เข้าเลยตำแหน่งกึ่งกลางของลิ้น จึงตึงไม้กดลิ้นออก แล้วหมุน Oral airway กดลิ้นไว้ตาม Oral cavity พร้อมทั้งค่อย ๆ เลื่อนเข้าไปจน แนวโค้งของลิ้น Oral airway อยู่ในลักษณะคว่ำ

2. การดูดเสมหะทางท่อหายใจและท่อเจาะคอ (Endotracheal and tracheostomy Suctioning)

การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจและทางท่อเจาะคอ ช่วยให้สามารถดูดเสมหะที่อยู่ในทางเดินหายใจส่วนล่างออกมาได้ง่าย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถไอขับเสมหะออกได้ การใส่ Endotracheal tube เข้าทางปาก (orotracheal) หรือทางจมูก (nasotracheal) โดยผ่าน epiglottis และ vocalcord เข้าสู่ trachea อย่างไรก็ตามการใส่ Endotracheal tube สามารถใส่ไว้ได้นานไม่เกิน 3-4 สัปดาห์ จึงเปลี่ยนเป็น tracheostomy tube ซึ่งเป็นการใส่เข้าสู่ trachea โดยตรง


ข้อควรระวังในการดูดเสมหะ

การระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ ขณะใส่สายดูดเสมหะให้เปิดด้านหนึ่งของตัวต่อ ป้องกันการดูดอากาศออกมากเกินไป และจนกว่าสายดูดเสมหะเข้าไปถึงที่ต้องการ จึงปิดรู เพื่อให้เกิดแรงดูด ขณะดูดเสมหะให้หมุนสายยางไปรอบ ๆ และค่อย ๆ ดึงสายดูดเสมหะขึ้นมา

ถ้าเสมหะเหนียวมาก ให้หยดน้ำเกลือ NSS ประมาณ 3-5 มล. ลงไปในท่อหลอดลม ช่วยละลายเสมหะให้อ่อนตัวลง ทำให้ดูดเสมหะออกได้ง่าย

ภาวะขาดออกซิเจน ควรให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนก่อนดูดเสมหะทุกครั้ง ประมาณ 30 วินาที – 2 นาที หรือบีบ Ambu beg ต่อออกซิเจน 3-6 ครั้ง และ ให้ออกซิเจนหลังดูดเสมหะอีกครั้งนานประมาณ 1-5 นาที หรือบีบ Ambubay เพื่อ ช่วยขยายปอด 
ป้องกันภาวะปอดแฟบ

ภาวะปอดแฟบ (Lung atelactasis) จากการดูดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ฉะนั้น ควรดูดเมื่อมีเสมหะ 
หรือเมื่อจำเป็น การดูดแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 5-10 วินาที และห่างกันประมาณ 3 นาที


ที่มา : http://www.healthcareplus2u.com/Health%20News4.html

เครื่องดูดของเหลว Suction Unit


 
รุ่น 9E-A

 

 

เครื่องดูดเสมหะ แบบไม่ใช้น้ำมัน

- ใช้ดูดเสมหะหรือของเหลวผู้ป่วยในบ้าน 
- แรงดูดสูง , ใช้งานได้ต่อเนื่อง 
- มีฟิวเตอร์ ป้องกันแบคทีเรีย

 



รุ่น 9E-B

 

เครื่องดูดเสมหะ แบบมีแบตเตอรี่ในตัว

-ใช้ดูดเสมหะหรือของเหลวผู้ป่วยในบ้าน หรือ เคลื่อนที่ได้
-แรงดูดสูง ใช้งานได้ต่อเนื่อง
-มีฟิวเตอร์ ป้องกันแบคทีเรีย

 


 
รุ่น 9A-26B


 

 

เครื่องดูดของเหลว ชนิดเคลื่อนที่ได้

-ใช้ดูดเสมหะหรือของเหลวผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือห้องผ่าตัด
-แรงดูดสูงไม่น้อยกว่า 20 ลิตรต่อนาที ใช้งานได้ต่อเนื่อง
-มีฟิวเตอร์ ป้องกันแบคทีเรีย

 


SUCTIONWall Suction
รุ่น Wall Suction

 

 ชุดดูดของเหลว แบบติดผนัง
รุ่น  Suction Regulator
 


-Suction Regulator / Suction Pipeline 
-Quick switch for Reg/ Off/ Full Vaccum
-Vacuum Rang 0-760 mm.Hg


Suction Pump VTS32

รุ่น Suction pump VTS32


เครื่องดูดน้ำย่อยและของเหลวในกระเพาะอาหาร

 

-แบบต่อเนื่อง (Continuous)

-แบบเป็นจังหวะ (Intermittent)


หจก.ประเสริฐเฮลท์แคร์พลัส

สามารถสอบถามได้โดยตรงผู้แทนขาย คุณชูศักดิ์  089-129-3675

56/28-30 หมู่ที่ 3 ถนนปทุมธานี - สามโคก ตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 12160

โทรศัพท์ 02- 5813706 , 02-5813698 โทรสาร 02-5813706

http://www.healthcareplus2u.com/Suction_Unit.html

   
   
 
 
แสดงความเห็นต่อบทความนี้
User :
Pass :
ลืมรหัสผ่าน

 
 
 
© Copyright 2010 WWW.MEEMARKET.COM All Rights Reserved.